ECCT The Energy Conservation Center of Thailand  ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย  0-2621-8531 center@ecct-th.org
Homeour serviceผลงานของเราเกี่ยวกับเราcontact us

     
ลักษณะของอาคารที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม

อาคารควบคุมจะต้องมีลักษณะการใช้พลังงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...คู่มือคำอธิบายพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)


การขึ้นทะเบียนเป็นอาคารควบคุม

อาคารที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุมจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นอาคารควบคุมโดยกรอกแบบกรอกข้อมูลของอาคารเพื่อการวินิจฉัยการเป็นอาคารควบคุม  ส่งไปที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อทางโทรศัพท์ 0-2223-0021-9

 หน้าที่ของอาคารควบคุม

     1) จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานโดยมีจำนวนและคุณสมบัติตามที่กำหนด
     2) จัดให้มีการจัดพลังงาน
     3) ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดี กรณีที่สั่งให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้พลังงานเพื่อตรวจสอบให้การอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

 

 

การจัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
 
   
คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

                  คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ
                 
อย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้

                    1) จบการศึกษาระดับ ปวช. สาขาช่างไฟฟ้า เครื่องกล ช่างยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างกลโลหะ
                        ช่างกลอาคาร ประสบการณ์ 3 ปี
                    2) จบการศึกษาระดับ ปวท. สาขาช่างไฟฟ้า เครื่องกล ช่างยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างกลโลหะ
                        ช่างกลอาคาร ประสบการณ์ 3 ปี
                    3) จบการศึกษาระดับ ปวส. สาขาช่างไฟฟ้า เครื่องกล ช่างยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างกลโลหะ
                        ช่างกลอาคาร ประสบการณ์ 1 ปี
                    4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาไฟฟ้า อุตสาหกรรม เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์
                        หรือพลังงาน
               
  คุณสมบัติ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโส ภาคทฤษฎี
                 
อย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้

                    1) เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญประจำอาคารควบคุม และจบการศึกษาระดับ ปวส. ขึ้นไป

                  2) เป็นผู้ปฏิบัติงานในอาคารควบคุมและจบการศึกษาระดับปริญญา ด้านวิศวกรรม (สาขาไฟฟ้า,
                        อุตสาหกรรม, เครื่องกล)
               
  คุณสมบัติ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโส ภาคปฏิบัติ
                 
อย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
                   
1) ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (ภาคทฤษฎี)
                    2) สอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดการจัดสอบผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน หลักสูตรผู้รับผิดชอบด้าน
                        พลังงาน (ภาคทฤษฎี)
               
  คุณสมบัติ
ผู้สอบบุคคลทั่วไป
  
                 1) ต้องเป็นบุคคลากรจากอาคารควบคุม

                  2) ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม..คู่มือการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน โทรศัพท์: 0-2577-7035-41

    จำนวนของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

     

    การแจ้งแต่งตั้งของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

   
อาคารควบคุมจะต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงานภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เป็นอาคารควบคุม โดยกรอก

แบบแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและแบบรับรองผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน (บพช.๑ <pdf file> <word file> , บพช.๒ <paf file> <word file> และ บพช.๓ <pdf file> <word file>)

ส่งไปที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อทางโทรศัพท์ 0-2223-0021-9

    การแจ้งพ้นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

   
อาคารควบคุมจะต้องแจ้งการพ้นหน้าที่และแต่งตั้งใหม่ภายใน 90 วัน
ส่งไปที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อทางโทรศัพท์ 0-2223-0021-9

 
การจัดการพลังงาน

    โครงสร้างการจัดการพลังงาน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม..คู่มือการพัฒนาระบบการจัดการพลังงา
บริการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน (Energy Management System)
 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์: 0-2621-8531-9 ต่อ 401

    การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม..

คู่มือการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับผู้ตรวจสอบพลังงาน

    การส่งรายงานการจัดการพลังงาน
 

ส่งรายงานการจัดการพลังงาน

ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

 

    โดยส่งเป็นเอกสารต้นฉบับ พร้อมแผ่น CD ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
                    1) นำส่งด้วยตนเองที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
                        อาคาร 8 ชั้น 2 กลุ่มวิชาการและส่งเสริมประสิทธิภาพ (วช.)

                    2) จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยให้ถือวันที่ลงทะเบียนเป็นวันส่งรายงาน

ที่อยู่/แผนที่ พพ.


  • ฝึกอบรมการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน (Eenrgy Management System)
  • สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน
  • ดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงาน
  • จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน
  • ให้คำปรึกษา ตอบปัญหา หรือบริการข้อมูลทางด้านพลังงาน
  • วิเคราะห์หาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
  • ชี้แนะปัญหาหรือสาเหตุการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
  • แนะนำแนวทาง/มาตรการในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
  • วิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค และการลงทุน

 

กรณีไม่ดำเนินการตามกฎหมาย


บทกำหนดโทษ

รายละเอียดเพิ่มเติม(หน้า 24)...คู่มือคำอธิบายพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)


 การขอผ่อนผันการปฏิบัติตามกฎหมาย

เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมสามารถยื่นคำขอผ่อนผันทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เพียงช่องทางเดียว (ยกเลิกการยื่นคำขอผ่อนผันแบบเอกสารทั้งหมดแล้ว) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายนของปีที่จะขอรับการพิจารณาผ่อนผัน ได้ที่ http://eservice.dede.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน พพ. โทร 0-2223-0021-9 ต่อ 1039, 1323, 1407, 1411, 1427, 1651, 1669

หากเจ้าของอาคารควบคุมแจ้งรายละเอียดหรือเหตุผลในการผ่อนผันอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 150,000 บาท

กรณีสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.
หากมีระยะเวลามากกว่า 180 วัน
จะต้องส่งรายงานการจัดการพลังงานในรอบปีนั้น


 
 

(อ้างอิงจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)

 
 
 
 
Copyright © The Energy Conservation Center of Thailand. All Rights Reserved

ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ส.อ.ท.
เราพร้อมที่จะให้บริการที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมด้านพลังงานให้กับโรงงานหรืออาคารของท่าน